วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พัฒนาเกษตรไทยสู่ยุคใหม่มอบกระทรวงเกษตรฯดูแลปัญหาน้ำท่วม

พัฒนาเกษตรไทยกระทรวงเกษตรฯดูแลปัญหาน้ำท่วม

เพราะภาคการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ
 (ซึ่งรวมถึงปศุสัตว์ การประมง และเพาะปลูก) เป็นเสมือนกระดูกสันของชาติ ที่ต้องสร้างให้เข้มแข็ง และจะเป็นหลักในการผลักดันการฟื้นฟูและเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยแบบยั่งยืนและไม่กระจุกตัว (เฉพาะที่ศูนย์กลาง) และภาคเกษตรเข้มแข็มจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจชนบทและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งมองว่าเป็นปัญหาโครงการสังคมไทยในปัจจุบัน

พื้นที่เกษตรน้ำท่วมเสียหายแสนไร่

รมว.เกษตรฯเผยรัฐบาลเตรียมจ่ายชดเชย พื้นที่เกษตรน้ำท่วมเสียหายแสนไร่ สำหรับสถานการณ์น้ำท่วม-น้ำหลาก ข้อมูลวันที่ 30 ก.ย.2559 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 42,659 ครัวเรือน เป็นพื้นที่เกษตร 121,619 ไร่ ใน 13 จังหวัด 38 อำเภอ 198 ตำบล 1,011 หมู่บ้าน โดยรัฐบาลจะมีการจ่ายค่าชดเชย และช่วยเหลือปัจจัยการผลิตในด้านต่าง จึงขอให้มีความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล ซึ่งได้มีการบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะยึดหลักประชาชนเป็นสำคัญ  ทั้งนี้ สถานการณ์ภัยแล้งปี 2558/59 ทำให้เกษตรกรเริ่มปลูกช้ากว่าปกติ โดยเริ่มเดือน มิ.ย.-ก.ค.ทำให้ขณะนี้มีข้าวที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวอีกจำนวนหนึ่ง โดยข้อมูลดาวเทียมพบว่า มีน้ำในลำน้ำมาก แต่ไม่มากเท่าปี 2554 แต่ได้สั่งการให้กรมชลประทานพิจารณาผันน้ำให้เหมาะสม ถ้าพื้นที่ใดยังไม่เก็บเกี่ยว จะไม่ผันน้ำเข้าไป ในกรณีเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่น้ำใกล้เต็มเขื่อน ถือเป็นลักษณะปกติ เพราะมีพื้นที่ที่เขื่อนต้องรับน้ำมาก แต่สามารถระบายน้ำ ลงแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณใต้เขื่อนพระราม 6 ได้ ขณะนี้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีอัตราการไหล 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยกรณีที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ ต้องมีอัตราการไหลมากกว่า 3,800 ลูกบาศก์เมตร ต่อ วินาที แต่ได้สั่งการให้กรมชลประทานรักษาระดับไว้เพียง 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในขณะนี้ ซึ่งมีหลายจังหวัดที่น้ำท่วมขังในย่านชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจ ว่า รัฐบาลประสงค์จะให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว จึงได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่ และให้ท้องถิ่นเป็นผู้สนับสนุนข้อมูล

เกษตรไทยเข้าสู่ยุคดิจิตอล ต้องการเกษตรกรรุ่นใหม่

ดังนั้น ปัญหาทัศนคติเกี่ยวกับการเป็น “เกษตรกร” ก็สำคัญ ที่ศึกษาดูเห็นว่าภาคเกษตรมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรมานาน และคนรุ่นใหม่เลิกอาชีพทำการเกษตร เพราะทัศนคติของคนรุ่นใหม่มองว่าอาชีพเกษตรกรเป็นงานหนัก รายได้ไม่แน่นอน จึงไม่มีแรงดึงดูดให้ประกอบอาชีพเกษตรกร


กระทรวงเกษตรฯจะเร่งสนับสนุน

ทั้งนี้ หากจังหวัดติดขัดในเรื่องการประสานงานกับส่วนราชการในพื้นที่ ให้รีบแจ้งไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาในระดับกระทรวงโดยด่วน ส่วนในระยะต่อไป กระทรวงเกษตรฯจะเร่งสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่และหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทนข้าว หรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจที่ค้าขายได้ดีกว่า เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติ รวมทั้งเกษตรกรจะประหยัดต้นทุน ได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการ และมีตลาดรองรับผลผลิตอีกด้วย

ภาคการเกษตรเป็นฐานการผลิตอาหารและด้านพลังงานทดแทนให้กับประเทศ

ต้องถือว่าประเทศไทยโชคดีที่ “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” เพราะมีภาคการเกษตรเป็นฐานการผลิตอาหารและด้านพลังงานทดแทนให้กับประเทศ แต่อย่านิ่งนอนใจ ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ภาคการเกษตรต้องได้รับการพัฒนาและปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าสู่ยุคใหม่ได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน

1 ความคิดเห็น :

  1. ไม่ระบุชื่อ5 ตุลาคม 2559 เวลา 00:54

    ก็ดีนะมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่ และให้ท้องถิ่นเป็นผู้สนับสนุนข้อมูล

    ตอบลบ