วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ปลูกมะกรูดอาชีพเสริมรายได้เสริมหลักหมื่นต่อเดือน

ปลูกมะกรูด

คุณอุ้ย อายุ 34 ปี เขาเป็นเจ้าของสถานตรวจสภาพรถ อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี พร้อมๆ กับปลูกมะกรูดไปด้วยภายในอู่ซ่อมรถ ซึ่งเขาใช้วิธีปลูกระยะชิด 50X50 ซม. ระยะนี้ปลูกเต็มพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ 4,000 ต้น ปัจจุบันปลูกมะกรูด 2 ไร่ ก็ 8,000 ต้น ระยะเวลา 8 เดือน มะกรูดจะโตเต็มวัย จากนั้นทุกๆ 2 เดือนสามารถตัดขายได้ แต่ละรอบ ให้ผลผลิตราว 1 – 1.5 ตัน ด้านราคาขายถ้าแบบมีก้านติด กิโลกรัมละ 7-15 บาท ขายเฉพาะใบล้วนๆ กิโลกรัมละ 40-60 บาท ราคาดังกล่าวปรับขึ้น – ลง ตามฤดูกาล

ปลูกมะกรูด
ปลูกมะกรูดอาชีพเสริมรายได้เสริมหลักหมื่นต่อเดือน

การเตรียมดินสำหรับปลูกมะกรูด

การปลูกมะกรูดต้องมีการเตรียมดินเหมือนพืชไม้ผลทั่วๆ ไป เพราะเป็นพื้นอายุยืนอยู่ได้หลายปี โดยเริ่มจากการไถดิน ไถดะ และไถแปร ชักร่องปล่อยน้ำ ขนาดความกว้างของร่อง 2.5-3 เมตร ขุดหลุมกว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กรัมต่อหลุม หรือหากจะปลูกแบบไม่ต้องยกร่องหลังจากเตรียมดินแล้วใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.5-3 เมตร ระหว่างแถว 2.5-3 เมตร ขนาดหลุม และทำการใส่ปุ๋ยเหมือนกัน รดน้ำให้ชุ่มก่อนปลูก

จุดเริ่มต้นที่หันมาปลูกมะกรูด

เพียงอยากจะมีรายได้เสริม แต่มีเงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1.ต้องเป็นไม้ยืนต้นที่ไม่ต้องรื้อและปลูกใหม่ 2.ต้องสามารถทำได้บนพื้นที่ 1 ไร่ เพราะเดิมที่ดินมีแค่นี้ 3.ต้องเป็นพืชที่ไม่ถูกบีบเรื่องระยะเวลาการเก็บเกี่ยวและผลผลิตเสียหายง่าย  4.ต้องสามารถทำเองคนเดียวได้ จาก 4 เงื่อนไขดังกล่าวจึงมองว่า “มะกรูด” เป็นพืชที่น่าสนใจ เพราะใช้พื้นที่น้อยการจัดการบริหารพื้นที่ไม่ยุ่งยากมากนัก ถ้ามีการวางระบบการจัดการที่ดี สามารถทำคนเดียวได้ปัจจุบันปลูกมะกรูดได้ 3 ปี กลับกลายเป็นรายได้ที่ทำเงินมากกว่าที่คิดไว้เลย

มะกรูดทั่วประเทศไทยนั้นมีแค่พันธุ์เดียวเท่านั้น

ไม่มีหลายสายพันธุ์เหมือนมะนาวหรือไม้ผลชนิดอื่น ที่เราเห็นบางที่ใบใหญ่ใบเล็กนั้นเป็นที่การดูแลบำรุงรักษา หรือมะกรูด บางต้นมีหนาม บางต้นไม่มีหนาม คือจริง ๆ แล้วอย่างเรื่องของหนามมะกรูดนั้น ถ้าเอาเมล็ดมะกรูดมาเพาะแล้วตอนกิ่งจากต้นเพาะเมล็ดออกมาหนามมะกรูดจะมีหนามสั้นลงเหลือเพียงเล็กน้อย

มะกรูดสร้างรายได้ให้เป็นกอบเป็นกำแก่หลายๆ คนมาแล้ว

 บางคนถึงขนาดตั้งตัวได้ สำหรับ “มะกรูด” พืชในตระกูลส้มเพราะเป็นพืชที่ขายง่าย ตลาดมีความต้องการทุกวัน  ขนาดคุณอุ้ย หรือคุณพิบูลศักดิ์ ละออง เจ้าของสถานตรวจสภาพรถ อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ยังเอ่ยปากชมว่า “มะกรูด” สร้างรายได้ให้ไม่แพ้งานประจำ

ก่อนเริ่มปลูกมะกรูด

เดิมผมปลูกมะนาวนอกฤดู  เพราะเมื่อปี  55 ได้ไปอบรมเรื่องการปลูกมะนาว ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมะนาวนอกฤดู ราคาดีลูกละ 7-10 บาท แต่ทว่ามะนาวนอกฤดูเก็บได้เพียงปีละครั้ง 1 ไร่ปลูกได้เพียง 100กว่าต้น ผลผลิตได้ไม่ถึง 1,000ลูก แถมมีต้นตายบ้าง หนที่สุดเลยหันมาปลูกมะกรูดทดแทน”

วิธีการปลูกมะกรูด

เริ่มที่การเตรียมดินโดยหว่านปอเทืองเพื่อทำปุ๋ยพืชสดครับ จากนั้นทำแปลงลูกฟูก สูงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร  กว้าง 1.2 เมตร ครับ มีระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ปลูกแบบสลับฟันปลา โดย 1 ไร่จะปลูกได้ถึง 4,000 ต้นเลยล่ะคร้าบบบบ สำหรับการปลูกมะกรูดที่ขาดไม่ได้คือระบบน้ำที่ดี มะกรูดเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำแฉะ จึงใช้ระบบสปริงเกอร์ วิธีนี้สามารถควบคุมการให้น้ำได้ดี ยังช่วยไล่ศัตรูพืชอย่างเพลี้ยไฟ แต่ผลเสียน้ำที่ค้างติดใบอาจนำเชื้อโรคอื่นได้ อีกระบบที่นิยมคือแบบน้ำหยด ลดปัญหาเชื้อโรค สะดวกในการให้ปุ๋ยผ่านน้ำ โดยจะรดน้ำเฉลี่ย 2 วันต่อครั้ง

สำหรับเงินลงทุนแรกเริ่ม คุณอุ้ย บอกว่า มะกรูดแปลงแรก ลงทุน 1.2 แสนบาท ปลูกได้ 3,300 ต้น ใช้วิธีขยายพันธุ์แบบกิ่งตอน ต่างจาการเพาะมล็ดเกือบ 2 ปีถึงจะเก็บผลผลิตได้ ระยะเวลา 8 เดือน มะกรูดจะโตเต็มวัย จากนั้นทุกๆ 2 เดือนสามารถตัดขายได้

ด้านตลาด ชายหนุ่ม บอกว่า จะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ ซึ่งมะกรูดจะตัดขาย 2เดือนครั้ง แต่ละครั้งก็ทำเงินให้หลายหมื่นบาท รายได้นับว่าดีในระดับที่น่าพอใจ สำหรับต้นทุนในการลงทุนนั้นปลูกมะกรูดระยะชิดนั้นหากรวมกิ่งพันธุ์และระบบน้ำแล้วจะอยู่ประมาณไร่ละ 1 แสนกว่าบาท ซึ่งนับว่าเป็นการลงทุนที่สูง ดังนั้นเกษตรกรที่สนใจต้องมีการศึกษาให้ดี ส่วนราคาในการขายนั้นจะอยู่ที่คุณภาพของใบมะกรูดและตลาดที่รับซื้อด้วย โดยหากเป็นตลาดระดับล่างก็จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 10-30 บาท แต่หากเป็นตลาดส่งออกก็จะมีราคาที่แพงมากขึ้นอีก

การเก็บเกี่ยวมะกรูด

จะตัดใบทุก 2 เดือนใน 2 ไร่จะเก็บได้เกือบ 2,000 กิโลกรัมเลยล่ะครับ ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 25 บาท รวมแล้วพี่กมลจะมีรายได้ถึง 50,000 บาทเลยล่ะครับ

ปัจจุบันการทำเกษตรของคุณอุ้ยเป็นเพียงอาชีพเสริมเท่านั้น เพราะงานหลักเขา คือ  เป็นเจ้าของสถานตรวจสภาพรถและการเข้ามาสวมบทบาทเกษตรกร เขาหาข้อมูลไว้รอบด้าน

คนที่คิดจะเข้ามาปลูกมะกรูด ควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ถ้าอยากจะทำเป็นอาชีพจริงจัง ควรไปดูแปลงจากคนที่ประสบความสำเร็จ ถ้าอยากจะทำเป็นอาชีพเสริม ให้ไปดูคนที่เค้าทำเป็นอาชีพเสริม มันจะได้ตรงตามความคาดหวัง ควรเลือกดูจากแปลงที่มีการบริหารจัดการที่ดี จะได้เอาไปปรับใช้กับแปลงตัวเอง ปัญหาและความผิดพลาดน่ะมันมีทุกแปลง แต่อยู่ที่ว่ารู้ปัญหาแล้วทำให้มันดีขึ้นหรือเปล่า ไม่ใช่ผิดพลาดอยู่ตลอด”

ปัญหาหลังจากที่ปลูกมะกรูด

มีปัญหาเรื่องหญ้า เริ่มแรกใช้ฟาง พอจะคลุมหญ้าได้บ้าง แต่เมื่อเวลาผ่านไป 2-3 เดือน หญ้าเริ่มบางลง ต้องเติมฟางเรื่อยๆ ซึ่งฟางราคาค่อนข้างแพง จึงเปลี่ยนมาเป็นผ้าใช้ผ้าสปันบอน เพราะน้ำซึมผ่านได้ ระบายอากาศได้ ใช้ไปประมาณ 6-7 เดือน ผ้าไม่ทนต่อ UV เมื่อขึ้นเฟส 2 จึงหาทางบริหารจัดการกับเรื่องหญ้าให้ได้ จึงยกร่องให้สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อต้องการจะฉีดยาฆ่าหญ้าได้ในร่อง (ในกรณีที่ต้องการฉีด โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อมะกรูด) ปัจจุบันเฟส 2 เรื่องหญ้าแทบไม่มีปัญหาเลย ถ้าไม่อยากให้หญ้าในร่องขึ้นอีก ก็พ่นยาคลุมหญ้าได้ เพราะความสูงของร่องที่ขึ้นไว้สูงกว่ากันถึง 60-70 ซม.เรียกได้ว่าแทบไม่มีผลต่อพืชเลย

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น