เกษตรเคมีสู่วิถีสวนผักชีวภาพ
เมื่อกล่าวถึง ‘เกษตรแบบเคมี’ หากจะอธิบายเพื่อขยายความให้เข้าใจแล้ว ก็คือระบบการเกษตรที่เน้นผลผลิต โดยมุ่งเน้นให้ได้ผลผลิตที่สูง โดยใช้ ‘สารเคมี’ เข้ามาช่วยในการเร่งผลผลิต รวมถึงการกำจัดศัตรูพืช ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบที่นิยมใช้กับอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่ผลเสียนั้นก็ย่อมมีตามมาเช่นกัน ทั้งเรื่องของสุขภาพของเกษตรกร คุณภาพของดินที่ย่อมลดลงเมื่อใช้สารเคมี และยังส่งผลกระทบไปสู่ผู้บริโภคโดยตรงกระทรวงเกษตรฯส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตร
พร้อมเสนอจัดทำบันทึกความเข้าใจ ส่งเสริมความร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูลโดยคุณกนกวรรณ คงจีน เปิดเผยว่าในช่วงที่ทำเกษตรแบบเคมี จะเน้นผลผลิตเป็นหลัก โดยปลูกผักประเภทกะเพรา และโหระพา เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยวก็จะนำผักไปขายตามแหล่ง ซื้อ-ขาย ที่ใหญ่ๆ อาทิ ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท แต่ก็ได้ราคาที่ไม่ค่อยน่าพอใจนัก ซึ่งในขณะนั้นไม่ได้คิดที่จะทำเกษตรในแบบอื่นๆในส่วนของถั่วฝักยาวระยะเวลาจากการเพาะปลูกจนถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยวนั้น ประมาณ 30-45 วันก็สามารถเก็บเกี่ยวเพื่อจำหน่ายได้แล้ว แต่ช่วงที่สำคัญคือช่วงติดดอกต้องพ่นยาแบบชีวภาพ เพื่อป้องกันแมลง ศัตรูพืช โดยตัวยาแบบชีวภาพนั้น จะออกฤทธิ์ในช่วง 2-3 วัน เพื่อป้องกันแมลงก็จะไม่มากัดกินผลผลิต ทั้งนี้ต้องเตรียมพืชที่ปลูกไว้อีก 1-2 แปลง เพื่อให้ผลผลิตมีต่อเนื่อง
โดยถั่วฝักยาวนั้นสามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 1 เดือน ต้นก็จะหมดรุ่นการผลิต ต้องเลือกเก็บต้นที่แน่นๆ ไม่บวมและฝ่อ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตมาแล้ว ก็จะนำไปล้างทำความสะอาด ก่อนจะบรรจุใส่ถุง ถุงละ 10 กิโลกรัม พร้อมนำเข้าไปแช่ตู้เย็น เนื่องจากหากถั่วฝักยาวอยู่ในสภาพอากาศปกติ จะทำให้บวมและฝ่อ สร้างความเสียหายได้
สำหรับมะเขือเปราะ และมะเขือพ่วง
ถือได้ว่าเป็นพืชที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากเป็นพืชยืนต้น จึงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่คุ้มค่าในการลงทุน ทั้งนี้คุณกนกวรรณ ได้เผยเคล็ดลับ ในการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวว่า ควรปลูกพืชหมุนเวียนกัน ยกตัวอย่างเช่น หากแปลงที่ 1 ปลูกถั่วฝักยาว แปลงที่ 2 ปลูกมะเขือเปราะ เมื่อพืชหมดการผลิต หรือยืนต้นตายแล้ว ก็ต้องสลับแปลงเพาะปลูก เพื่อเป็นการป้องกันศัตรูพืช และจะได้ผลผลิตที่ดีอีกด้วยทั้งนี้เมื่อสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว
ก็จะนำมาล้างทำความสะอาดเพื่อคัดแยก ในส่วนพืชผักที่ต้องคัดแยกนั้นคือ มะเขือเปราะ แบ่งเป็นเกรด A และเกรด B โดยเกรด A นั้นจะเป็นการส่งออกต่างประเทศ ซึ่งจะไม่มีรอยตำหนิ ส่วนเกรด B จะเป็นชนิดที่มีริ้วรอย ก็จะส่งขายภายในประเทศอาทิตามห้าง หรือร้านที่มารับซื้อซึ่งหากเปรียบเทียบกับการทำสวนแบบเคมี จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็แลกมาด้วยปัญหาสุขภาพของเกษตรเอง ซึ่งยาพ่นที่เป็นสารเคมี ฤทธิ์ของตัวยาก็จะมีผลทันที แต่จะยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ต้องรอให้ตัวสารเคมีนั้นหมดฤทธิ์เสียก่อน
อย่างไรก็ตามการปลูกผักปลอดสารพิษนั้นต้องได้ใบรับรองของชนิดผัก
และใบรับรองของเกษตรกร จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงจะสามารถจำหน่ายได้ ซึ่งทางบริษัทที่รับซื้อจะติดต่อไปทางจังหวัด เพื่อหาผลผลิตจากเกษตรกรโดยตรง ปัจจุบันมีบริษัทที่เข้ามารับซื้อประมาณ 7-8 บริษัท ซึ่งจะมีพืชผักสวนครัวจากเกษตรกรรายอื่นๆ ใน จ.นนทบุรี ด้วยทั้งนี้ในกลุ่มผักปลอดสารพิษใน จ.นนทบุรี
ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 50 ราย เนื่องจากเกษตรกรบางรายได้ผลผลิตน้อย ไม่ตรงตามเป้าที่ต้องการ ส่วนกระบวนการทำงานในกลุ่มเกษตรกรผักปลอดสารพิษ จะมีการประชุมเพื่อวางระบบงาน แบ่งสัดส่วนอย่างชัดเจน โดยให้เกษตรกรแต่ละรายปลูกพืชผักสวนครัวแตกต่างกันไป เพื่อให้ครอบคลุมกับตลาดรับซื้อ อาทิ คะน้า ผักบุ้งจีน ชะอม โหระพา กะเพรา สาระแหน่ ใบบัวบก ข่า กระเจี๊ยบ ต้นอ่อนทานตะวัน และอื่นๆ อีกกว่า 20 ชนิดส่วนราคาผักสวนครัวในปัจจุบันที่ตลาดรับซื้อของสวนคุณกนกวรรณนั้น ถั่วฝักยาวกิโลกรัมละ 60 บาท มะเขือเปราะ กิโลกรัมละ 30 บาท, มะเขือพวงกิโลกรัมละ 70, พริกเขียวกิโลกรัมละ 60 บาท , พริกเเดงกิโลกรัมละ 70 บาท โดยผลผลิตต่อหนื่งอาทิตย์โดยประมาณถ้่วฝักยาว 400-500 กิโลกรัม , มะเขือพวง 150 กิโลกรัม, มะเขือเปราะ 400-500 กิโลกรัม และพริก 50 กิโลกรัม เฉลี่ยแล้วหลังจากหันมาปลูกผักปลอดสารพิษสามารถสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 1,000 บาท ต่อวัน หรือขึ้นอยู่กับผลผลิต
นอกจากนี้ การเข้าเยี่ยมเกษตรกรของบริษัททำให้ได้เห็นคุณภาพชีวิต และมาตรฐานการจัดการที่ดีที่บริษัทปฏิบัติต่อเกษตรกรด้วย โดยในการจัดการฝึกอบรมโดย FAO ที่ผ่านมา ทั้งที่ประเทศปากีสถาน และประเทศไทย สัญญาคอนแทร็กฟาร์มมิ่งของ CPF ที่ได้มีการปรับปรุงรูปแบบให้สอดคล้องต่อแนวทางสากลแล้วถูกนำไปใช้ในการทำแบบฝึกหัดเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของสัญญาอีกด้วย
ที่มา http://news.mthai.com/
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น